คลอรีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลอรีน (อังกฤษ: Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้]การใช้ประโยชน์
คลอรีนมีประโยชน์ดังนี้
- ใช้ฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ใน น้ำดื่ม และน้ำในสระว่ายน้ำ
- ใช้ในอุตสาหกรรมผลิต กระดาษ ทำยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทำสีผสมอาหาร ยาฆ่าแมลง สี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พลาสติก เวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมเท็กไทล์ ฯลฯ
- ในทาง อินทรีย์เคมี ใช้ธาตุนี้ทำปฏิกิริยาออกซิเดชันและทำปฏิกิริยาแทนที่ เพราะคลอรีนมีคุณสมบัติเคมีที่ต้องการใน สารประกอบอินทรีย์ เมื่อเข้าไปแทนที่ ไฮโดรเจน (ในการผลิต ยางสังเคราะห์)
- ใช้ในการผลิตคลอเรต (chlorates) เช่น คลอโรฟอร์ม (chloroform) คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (carbon tetrachloride) และใชในการสกัด โบรมีน
[แก้]แหล่งที่พบและการผลิต
ในธรรมชาติคลอรีนอยู่ในรูปของ คลอไรด์ไอออน (chloride ion) หรือเป็นรูปของ เกลือ ซึ่งละลายอยู่ในน้ำทะเลประมาณกันว่ามีอยู่ราว 1.9 %ของมวลน้ำทะเลใน มหาสมุทร ความเข้มข้นของ คลอไรด์ไอออน ที่มากกว่าในน้ำทะเลได้แก่น้ำใน ทะเลเดดซี (Dead Sea) และน้ำในเหมืองเกลือใต้ดิน คลอไรด์ไอออนที่พบทั่วไปได้แก่
- ฮาไลต์ (halite-โซเดียมคลอไรด์) ,
- ไซลไวต์ (sylvite-โพแทสเซียมคลอไรด์) ,
- คาร์นัลไลต์ (carnallite-โพแทสเซียม แมกนีเซียม คลอไรด์ เฮกซาไฮเดรต)
ในอุตสาหกรรมธาตุคลอรีนผลิตได้โดยปฏิกิริยา อิเล็กไลสิส (electrolysis) โซเดียมคลอไรด์ ที่ละลายในน้ำ กระบวนการนี้เรียกว่า กระบวนการคลอร์อัลคะไล ซึ่งนอกจากได้คลอรีนแล้วยังมีผลพลอยได้ ไฮโดรเจน และ โซเดียมไฮดรอกไซด์ ด้วย, ตาม สมการเคมี ข้างล่างนี้
[แก้]สารประกอบคลอรีน
สารประกอบคลอรีนมีดังนี้
- คลอเรต
(Chlorate-ClO3−) , - คลอไรต์
(Chlorite-ClO2−) , - ไฮโปคลอไรต์
(HypochloriteClO−) , - เปอร์คลอเรต
(Perchlorate-ClO4−) - คลอรามีน
(Chloramine-NH2Cl) , - คลอรีนไดออกไซด์
(Chlorine dioxide-ClO2) , - กรดคลอริก
(Chloric acid-HClO3) , - คลอรีนโมโนฟลูออไรด์
(Chlorine monofluoride-ClF) , - คลอรีนไตรฟลูออไรด์
(Chlorine trifluoride-ClF3) , - คลอรีนเพนต้าฟลูออไรด์
(Chlorine pentafluoride-ClF5) - ไดคลอรีนโมนอกไซด์
(Dichlorine monoxide-Cl2O) , - ไดคลอรีนเฮปตอกไซด์
(Dichlorine heptoxide-Cl2O7) , - กรดไฮโดรคลอริก
(hydrochloric acid-HCl) , - กรดเปอร์คลอริก
(Perchloric acid-HClO4) ,
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น